ท่อแต่ง – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กฎที่ต้องปฏิบัติ

กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจขึ้นมาอีกครั้งเมื่อ คนชอบขี่มอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยว โดนข้อห้ามใส่ท่อแต่ง (ท่อสูตร) ขึ้นเขาใหญ่ เพราะมันจะรบกวนสัตว์ป่าซึ่งนับว่าเป็นเรื่องจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้ขี่รถท่องเที่ยวทุกคนควรต้องปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง

ซึ่งในครั้งนี้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้ออกกฎให้ยานพาหนะที่ท่อไอเสียเป็นท่อสูตร ไม่ว่าเสียงดังหรือไม่ดัง ห้ามขึ้นไปด้านบนอุทยานฯ ทั้งสิ้น ให้ขึ้นได้เฉพาะรถท่อเดิมเท่านั้น โดยมีผลทั้งด่านทางขึ้นอุทยานฯ ฝั่ง อ.ปากช่อง และฝั่ง จ.ปราจีนบุรี สืบเนื่องมาจากที่ผ่านมา ทางอุทยานฯ ใช้วิธีการวัดระดับเสียง หากไม่เกินค่ามาตรฐานจะให้ผ่านเข้าไปได้
แต่พบว่ามีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์บางคน นำฝอยขัดหม้อไปยัดท่อไอเสียเอาไว้ เพื่อให้ระดับเสียงลดลงแล้วผ่านด่านได้ แต่พอขึ้นไปข้างบนก็เอาฝอยขัดหม้อออก หรืออาจจะหลุดออกมาเองทางปลายท่อ เมื่อผู้บังคับบัญชาที่ทำงานอยู่ในสำนักงาน บริเวณโรงอาหาร ได้ยินท่อไอเสียเสียงดัง กึกก้องกังวาน สะท้อนไปมากับหุบเขา จึงได้มีการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ปล่อยรถผ่านขึ้นเขามา เพื่อยุติปัญหาดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯ จึงได้ออกกฎใหม่ ห้ามรถที่เป็นท่อสูตรไม่ว่าเสียงดังหรือไม่ดัง ขึ้นไปบนอุทยานฯ ทั้งสิ้น

มาตรฐานในการตรวจสอบท่อไอเสียมีวิธีอย่างไร???

ก่อนที่เราจะเปลี่ยนท่อเพื่อความสวยงามหรือเปลี่ยนเพื่อเพิ่มสมรรถนะรถ อย่างแรกที่ต้องทำความเข้าใจเลยคือ “ข้อกำหนดเสียงสามารถใช้งานได้บนท้องถนน” หรือมีภาษาทางราชการว่า เกณฑ์ของระดับเสียงที่เกิดจากเครื่องกำเนิดพลังงานของรถ
ซึ่งมีข้อกำหนดว่า “ระดับเสียงของรถจักรยานยนต์ในขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่กับที่ โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณต้องมีระดับเสียงไม่เกิน 95 เดซิเบล เมื่อตรวจวัดระดับเสียงในระยะห่างจากรถจักรยานยนต์ 0.5 เมตร”

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าท่อที่ใส่มีเสียงเกินกว่าที่กำหนด?

ในเรื่องนี้ถ้าเอาอย่างเป็นกลางไม่เอนเอียงให้ใคร ก็ต้องพึงความเป็นมาตราฐานของกรมการขนส่งทางบกจะดีที่สุด เพราะที่กรมการขนส่งฯ จะมีเครื่องมือไว้สำหรับตรวจสอบโดยเฉพาะเพื่อประเมินค่าที่ถูกต้องต่อการใช้งาน แต่ก็ค่อนข้างจะมีความยุ่งยากพอสมควรเนื่องจากต้องผ่านการขอตรวจ และขั้นตอนคำร้องอีกมากมายหลายขั้นตอน และที่สำคัญการเปลี่ยนท่อไอเสียไม่ได้มีความผิดต่อ พรบ. ขนส่งฯ เพราะกฎมายมาตรา 12 และ มาตรา 14 ได้เขียนกำหนดไว้ว่า
“รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือ เอาออกแล้ว
ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเจ้าของรถไม่อาจจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกได้ ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถนั้น เจ้าของรถมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่งของ นายทะเบียน คำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด”
ส่วนมาตรา 14 “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียน ตรวจสภาพก่อน ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในเวลาใช้ ให้สั่งเจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้ และให้นำ มาตรา 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ให้แก้ไข เพิ่มเติมรายการในทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย”
ซึ่งการเปลี่ยนท่อไอเสียไม่ได้เปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งสวนใดของตัวรถ และไม่ได้สร้างอันตรายต่อตนเองและผู้ร่วมทางบนท้องถนน นั่นเท่ากับว่าการผิดกฎหมายเรื่องเปลี่ยนท่อจะมีความผิดแค่ “เสียงดังเกินกว่าที่กำหนดไว้” เท่านั้น

สำหรับทบลงโทษ (การใช้งานบนท้องถนนถ้าเจอตำรวจเรียก) ถ้าตรวจสอบแล้วไม่เกิน 95 เดซิเบล ก็สามารถใช้งานท่อนั้นได้ต่อไป แต่ถ้าเกิน…ผู้ใช้ต้องเสียค่าปรับทางกฎหมายซึ่งมีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Workpoint News และ พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ.2522

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *