ระบบคลัตช์ (Clutch) ตัวแปลสำคัญในการถ่ายทอดกำลัง

มักคุ้นหูอยู่เสมอกับคำว่า คลัทช์หมด คลัตช์ไหม้ แต่จริงๆ แล้วรู้หรือไม่ว่า คลัตช์ที่เราเรียกๆ กันอยู่มีกี่แบบแล้วทำงานกันอย่างไรบ้าง

ถ้าให้อธิบายคร่าวๆ ก็คือ… คลัตช์เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์ ทำหน้าที่ในการตัดต่อการถ่ายทอดแรงบิดที่ส่งจากเครื่องยนต์ไปยังเกียร์ เพื่อให้รถมอเตอร์ไซค์สามารถขับเคลื่อนไปโดยมีการรับ-ส่งกำลังงานจากเครื่องยนต์ผ่านกลไกส่งกำลังไปยังโซ่ให้เป็นไปตามสภาวะของการทำงาน ทำให้ผู้ขี่มีความสะดวกสบายในการเปลี่ยนเกียร์รวมถึงการออกตัวรถและหยุดรถ ซึ่งระบบคลัตช์ยอดนิยมที่อยู่ในรถมอเตอร์ไซค์มีอะไรบ้างมาติดตามกัน

คลัตช์เปียก (Clutches Running Oil)

คลัตช์เปียกเป็นคลัตช์ที่นำมาใช้กับรถจักรยานยนต์ ชุดคลัตช์จะแช่อยู่กับน้ามันตลอดเวลา สามารถเพิ่มจำนวนของแผ่นคลัตช์ได้มากทำให้ขนาดของชุดคลัตช์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กลงมีแรงจับยึดในตัวเองสูง และมีแนวโน้มที่จะทำให้แผ่นคลัตช์นั้นยึดติดกัน

แผ่นคลัตช์ประกอบด้วยแผ่นขับและแผ่นตาม แผ่นขับจะทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าทีมีความฝืดทั้งสองด้านทำด้วยไม้ก๊อก ด้านในทำเป็นร่องฟันเฟืองในและขบอยู่กับร่องดุมคลัตช์ เมื่อเครื่องยนต์หมุน ตัวเรือนคลัตช์จะถูกขับให้หมุนตามด้วยการส่งถ่ายแรงบิดจากเพลาข้อเหวี่ยงผ่านเกียร์หรือโซ่ ซึ่งก็จะทาให้หมุนอยู่ตลอดเวลา ส่วนแผ่นตามผิวทั้งสองด้านจะไม่มีไม้ก๊อก จะถูกติดตั้งสลับกันกับแผ่นขับ การทำงานเมื่อแผ่นคลัตช์จากออก น้ำมันที่ชุดคลัตช์แช่อยู่จะไหลเข้าแทนที่ และน้ามันจะถูกแรงบีบรีดออกเมื่อคลัตช์จับ ทาให้การขับเคลื่อนมีความนิ่มนวลขึ้น

คลัตช์แบบแห้ง (Dry Clutches)

สำหรับระบบคลัตช์แบบแห้งที่อยู่ในรถมอเตอร์ไซค์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรถที่ต้องใช้ความเร็วสูงอย่างรถแข่ง ซึ่งประกอบด้วยแผ่นคลัตช์ โดยลักษณะเป็นแผ่นจานโลหะกลม และมีแผ่นความฝืดที่ทำจากสารกันความร้อนและแรงเสียดทานสูงยึดติดอยู่กับผิวของแผ่นคลัตช์ทั้งสองด้านดุมของแผ่นคลัตช์จะถูกทำให้เป็นร่องไว้สวมกับเพลารับกาลังจากเครื่องยนต์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน เพื่อให้แผ่นคลัตช์นั้นสามารถเลื่อนไปมาบนเพลาได้ เมื่อคลัตช์ทำงานแผ่นคลัตช์จะถูกบีบให้อัดอยู่กับล้อช่วยแรงด้วยแรงกดของแผ่นกดคลัตช์ให้หมุนไปกับเพลารับกำลังของระบบเกียร์ด้วยความเร็วที่เท่ากับเครื่องยนต์

ถึงแม้ว่าคลัตช์แบบแห้งจะมีการส่งกำลังที่สูงกว่าคลัตช์เปียก แต่ก็มีจุดด้อยอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือเสียงดัง มีความร้อนสูง หมดเร็ว เพราะไม่มีน้ำมันมาช่วยลดความร้อนจากการเสียดสี ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเซอร์วิสทุกๆ หมื่นกิโลเมตรเลยทีเดียว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *